งานเสวนาวิชาการ เจาะลึก...อสังหาฯสูงวัยแดนปลาดิบ จัดโดย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Center of Excellence in Universal Design)

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดเสวนาทางวิชาการในปี พ.ศ. 2559-2562 ในหัวข้อ UD Product Knowledge ที่ผ่านมา 9 ครั้ง ได้แก่หัวข้อ การออกแบบห้องน้ำ UD, ตลาดอสังหาฯ เพื่อสังคมสูงวัย Real Estate for Ageing Society, ตะลุยงานวิจัยอสังหาฯต่างชาติ...สูงวัย, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Senior Medical Tourism for All, Thailand…Retirement Destination


ในวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ทางศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน โดยมี รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์  จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้จัดเสวนาทางวิชาการ ภายใต้หัวข้อใหญ่ UD Product Knowledge เป็นครั้งที่ 10 ในหัวข้อ เจาะลึก...อสังหาฯสูงวัยแดนปลาดิบ ณ ห้องประชุม 329 (อาคารสถาปัตยกรรมกับอาคารศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมกายภาพสู่สังคม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้เข้าร่วมงานเสวนาจำนวน 89 ท่าน 

โดยเนื้อหาในการบรรยาย เป็นการนำเสนอประสบการณ์ที่ไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับบ้านพักผู้สูงอายุที่ ประเทศญี่ปุ่น การนำมาปรับใช้กับโครงการในประเทศไทย รวมถึงสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย และระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้เทคโนโลยี ภายในงานมีท่านวิทยากร 2 ท่าน 


ท่านแรกคือ รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์  จารุทัศน์ หัวหน้าภาควิชาเคหการ รับผิดชอบ สอน วิจัย ด้านการพัฒนาอสังหาริทรัพย์ระดับปริญญาโท และเป็นหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Center of Excellence in Universal Design) รับผิดชอบงานวิจัยและการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนหรือ Universal Design เข้าบรรยายในหัวเรื่อง “สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย-ญี่ปุ่นและ ระบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง CCRC” 

ในปี ค.ศ. 2050 จะเป็นสังคมที่ผู้สูงอายุครอบครอง ประชากรทั่วโลกที่มีอายุมากกว่า 65 ปี 20% ของประชากรทั้งโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ผู้สูงอายุเหล่านี้ส่วนหนึ่งตั้งเป้าจะมาใช้ชีวิตบั้นปลายในต่างประเทศ ตลาด Longstay จึงเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจในอนาคต The World’s Best Places to Retire in 2018 พบว่า ไทยอยู่อันดับที่ 14 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย 

สำหรับเมืองของประเทศไทยที่ให้ชาวต่างชาติสนใจที่จะมา Longstay นั้น จากการสำรวจของ International Living Australia Global Retirement Rankings ปี ค.ศ. 2018 พบว่ามี 2 เมือง คือ เชียงใหม่ ได้เกรด  A- และเมืองหัวหิน ได้ B+

ผู้ประกอบการไทยควรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับตลาดกลุ่ม Long Stay โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสูงอายุแต่ละประเทศซึ่งมีความชอบหรือมี วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

วิทยากรท่านที่ 2 คือ Mr.Keiji Arai จบการศึกษาในปี 2535 Tokyo University of Pharmacy & Life Science หลังจากทำงานในร้านขายยาและเป็นที่ปรึกษา ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการในเครือข่ายร้านขายยาชั้นนำของบริษัท ได้มุ่งเน้นไปที่ การดูแลที่บ้าน และระบบการดูแลที่ครอบคลุมในชุมชน จากนั้นเข้าสู่อุตสาหกรรมการเป็นผู้ดูแลใน Green Life ในฐานะผู้แทนองค์กร และเพิ่มอัตราการเข้าพักและผลกำไร 4 เท่าภายใน 5 ปี และก่อตั้งบริษัท ARIA JAPAN ในเดือนเมษายน 2562 เข้าบรรยายในหัวข้อเรื่อง “The management and present situation of elderly care facilities in Japan.” จากนั้นจะเป็นช่วงของ Case Study โครงการบ้านพักผู้สูงอายุในญี่ปุ่นโอกาสทำโครงการเพื่อรับลูกค้าชาวญี่ปุ่นวัยเกษียณ 


ในปัจจุบัน Green Life อยู่ใน 10 อันดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรมมีโรงพยาบาล 68 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น Green Life เป็น บริษัท ในเครือของ Ship Healthcare Holdings ซึ่งเป็น บริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกีย  สภาพของตลาดอาวุโสในญี่ปุ่น เป็นระบบการประกันการดูแลในประเทศญี่ปุ่น ประชากรสูงอายุยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2558 ประชากรสูงอายุตอนปลายที่มีอายุมากกว่า 75 ปียังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศญี่ปุ่นกลไกที่ครอบคลุมและครบวงจรเพื่อให้บริการที่จำเป็น ทุกคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีจะต้องจ่ายเบี้ยประกันซึ่งเป็นทรัพยากรกองทุนของการบริการพยาบาล

กล่าวบรรยายเกี่ยวกับภาพรวมประเภทสิ่งอำนวยความสะดวกสวัสดิการความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ การกำหนดเป้าหมายผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการใช้ชีวิตที่บ้าน สถานบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการกลับบ้านผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลบ้านส่วนตัวก่อสร้างอาคาร โดยทั่วไป ร่วมไปถึงอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น


ช่วงสุดท้ายของงานเสวนาเป็นช่วงถามตอบ Q&A ผู้เข้าร่วมเสวนาสามรถถามคำถามเพื่อเพิ่มความเข้าใจและนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไปได้ อีกทั้งภายในงานยังมีแจกของรางวัลเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน ทำให้บรรยากาศภายในงานเสวนาครบรส ที่ได้ทั้งความรู้และความสนุก


รายละเอียดติดต่อได้ที่ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-17.00 น. โทรศัพท์: 084-554-9301, 
อีเมล์: chula.udc@gmail.com และสามารถติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ต่างๆ หรือกิจกรรมดีๆ ได้จากทาง Facebook, Line: chula.udc


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการเลือกซื้อราวจับให้พ่อแม่

ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula UDC) เปิดให้บริการฟรีเป็นที่แรกในประเทศไทย