บทความ

เทคนิคการเลือกซื้อราวจับให้พ่อแม่

รูปภาพ
  หลายคนเคยยืนงง ตอนที่จะเลือกซื้อราวให้พ่อแม่ หรือผู้สูงอายุที่บ้านใช้ รูปร่างหน้าตาเยอะแยะไปหมด แบบไหนเป็นแบบไหน คนใช้ไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้ใช้ วันนี้เราเลยจะมาบอก   เทคนิค ง่ายๆ ในการซื้อราวจับติดในห้องน้ำ ให้ผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อความปลอดภัย และตรงกับการงาน ก่อนอื่นต้องอธิบายถึงตำแหน่ง ตำแหน่งติดตั้งราวจับก่อน จุดที่ควรติดตั้งราวจับในห้องน้ำมี 5 ที่ 1. ชักโครก 2. ที่อาบน้ำ 3. อ่างล้างหน้า  4. ทางเดินที่เข้าไปในห้องน้ำ 5. ประตูห้องน้ำ สำหรับเทคนิคการซื้อ “ราวจับติดที่ชักโครก” 1. เช็คตำแหน่งชักโครก 1.1 กรณี กึ่งกลางชักโครกห่างจาก ผนัง 45-50 ซม. จะมีตำแหน่งติดราวจับ 2 ด้านคือติดด้านที่ชิดกับผนังและด้านที่ไม่มีผนัง - ด้านที่ชิดผนัง แนะนำให้เป็นราวจับรูปตัว L (ขนาดยาว 60 × 60 ซม.ขึ้นไป) โดยราวแนวตั้งยาวมากกว่าหรือเท่ากับราวแนวนอน เพราะว่าเวลาที่ผู้สูงอายุย้ายตัวจากวีแชร์จะต้องยืนจับราวแนวตั้ง แล้วค่อยๆหย่อนก้นนั่งหรือเวลาจะดึงตัวเองขึ้นมาจากชักโครกก็จะดึงเราจับในแนวตั้ง ดังนั้นหากราวตัว L ที่เราจับในแนวตั้งสั้นกว่า ราวอันนั้นจะใช้ไม่ได้เลย อีกอย่างการที่จะดึงตัวเองขึ้น

งานเสวนาวิชาการ เจาะลึก...อสังหาฯสูงวัยแดนปลาดิบ จัดโดย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Center of Excellence in Universal Design)

รูปภาพ
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดเสวนาทางวิชาการในปี พ.ศ. 2559-2562 ในหัวข้อ UD Product Knowledge ที่ผ่านมา 9 ครั้ง ได้แก่หัวข้อ การออกแบบห้องน้ำ UD, ตลาดอสังหาฯ เพื่อสังคมสูงวัย Real Estate for Ageing Society, ตะลุยงานวิจัยอสังหาฯต่างชาติ...สูงวัย, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Senior Medical Tourism for All, Thailand…Retirement Destination ในวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ทางศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน โดยมี รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์  จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้จัดเสวนาทางวิชาการ ภายใต้หัวข้อใหญ่ UD Product Knowledge เป็นครั้งที่ 10 ในหัวข้อ เจาะลึก...อสังหาฯสูงวัยแดนปลาดิบ ณ ห้องประชุม 329 (อาคารสถาปัตยกรรมกับอาคารศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมกายภาพสู่สังคม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้เข้าร่วมงานเสวนาจำนวน 89 ท่าน  โดยเนื้อหาในการบรรยาย เป็นการนำเสนอประสบการณ์ที่ไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับบ้านพักผู้สูงอายุที่ ประเทศญี่ปุ่น การนำมาปรับใช้กับโครงการในประเ

งานเสวนาฯ ครั้งที่ 8 เรื่อง จับตา...อสังหาสังคมสูงวัยไทย Thailand Senior living focus และเปิดตัว ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน

รูปภาพ
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน  (Center of Excellence in Universal Design: CE UD) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย           วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2562 เวลา 08.30-12.00 น. ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน  ได้จัดสัมมนาเรื่อง "จับตา...อสังหาสังคมสูงวัยไทย ( Thailand Senior living focus ) " ขึ้น  ที่คณะสถาปัตย์ฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้สนใจจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเปิดโอกาศให้นิสิต นักศึกษา และตัวแทนจากสมาคมวิชาชีพต่างๆเข้าฟังฟรี โดยไม่คิดค่าลงทะเบียน ถือเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนด้วย   โดยในงานดังกล่าวมีวิทยากร 2 ท่านคือ ร.ศ. ไตรรัตน์   จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน   และ น.พ. เก่งพงศ์   ตั้งอรุณสันติ CEO & Founder   Chersery Home / The   Senizens ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนนี้ ได้เริ่มจัดตั้ง เมื่อ พ.ศ. 2550 ในชื่อ หน่วยปฏิบัติการวิจัย สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลศึกษาและวิจัยองค์ความร

ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula UDC) เปิดให้บริการฟรีเป็นที่แรกในประเทศไทย

รูปภาพ
ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula UDC) เปิดให้บริการฟรีเป็นที่แรกในประเทศไทย แนะนำปรับปรุงบ้านให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสำหรับทุกคน ในยุคสังคมสูงวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมด้านสภาพแวดล้อมสำหรับ “สังคมสูงวัย” จึงได้จัดตั้งศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวบรวม พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรมท้องถิ่น เป็นที่รวมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อเปิดเป็นธนาคารอุปกรณ์ และการให้คำปรึกษา แนะนำ เผยแพร่ ให้ความรู้ ความเข้าใจในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ  ในวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ทาง ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula UDC) โดยมี รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์  จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดย  มี นางธ

ขอเชิญสถาปนิก นักออกแบบ เข้าร่วมเสวนา “UD Product knowledge”ครั้งที่ 1 เรื่อง ห้องน้ำ UD

รูปภาพ
     จากที่ทางหน่วยปฏิบัติการวิจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและคน พิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานเกี่ยวกับ Universal Design ร่วมกับสถาปนิกในหลายหน่วยงาน พบว่ามีคำถามในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และข้อมูลทางเทคนิคอยู่หลายคำถาม เช่นค่า R กระเบื้องควรเป็นเท่าไหร่ การเลือกใช้ราวจับพยุงตัว การเลือกใช้กริ่งสัญญาณเตือนภัย และได้พบคำถามเดียวกันนี้กับหลายๆโครงการ เ พื่อ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Universal Design จึงจะมีการจัดเสวนาเรื่อง “UD Product knowledge”ครั้งที่ 1 เรื่อง ห้องน้ำ UD เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความต้องการของสถาปนิก และถือโอกาสสอบถามข้อสงสัยกับผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Universal Design โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วย สถาปนิกจากบริษัทต่างๆ ที่มีงานออกแบบเกี่ยวข้องกับ UD หรือ มีความสนใจเกี่ยวกับ UD ประมาน 20 คน และตัวแทนจากผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ UD จาก 5-6 บริษัท การเสวนาเรื่อง UD Product knowledge นี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก และเน้นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับห้องน้ำโดยเฉพาะ      หน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ จึงใคร่เรียนเชิญสถาปน

Universal Design "UD" และ หลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อทุกคน

รูปภาพ

โครงการเตรียมตัวก่อนเกษีณบุคลากรภาครัฐ กรมกิจการผู้สูงอายุ ปี 2559 รุ่นที่ 1

รูปภาพ
โครงการเตรียมตัวก่อนเกษีณบุคลากรภาครัฐ กรมกิจการผู้สูงอายุ ปี 2559 รุ่นที่ 1 วันที่ 14 มกราคม 2559 ณ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพมิชชั่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี บรรยายโดย รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์